การจัดแสดงโขนพระราชทาน ชุด ศึกอินทรชิต ตอน พรหมาศ

การจัดแสดงโขนพระราชทาน ชุด ศึกอินทรชิต ตอน พรหมาศการจัดแสดงโขนพระราชทาน   ชุด ศึกอินทรชิต  ตอน พรหมาศ

 

          สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทอดพระเนตรการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด ชุดศึกอินทรชิต  ตอน พรหมาศ

รอบปฐมทัศน์ ณ หอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้สนองพระราชเสาวนีย์ ให้จัดการแสดงโขนขึ้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์ “โขน” วิจิตรนาฏศิลป์ไทยให้คงอยู่สืบไป หลังจากได้จัดการแสดงโขนรามเกียรติ์มาแล้วรวมหลายตอน อาทิ ศึกพรหมาศ, นางลอย, ศึกมัยราพณ์, จองถนน, ศึกกุมภกรรณ ตอนโมกขศักดิ์ และ ศึกอินทรชิต ตอนนาคบาศ

การจัดแสดงโขนพระราชทาน   ชุด ศึกอินทรชิต  ตอน พรหมาศ  การจัดแสดงโขนพระราชทาน   ชุด ศึกอินทรชิต  ตอน พรหมาศ  การจัดแสดงโขนพระราชทาน   ชุด ศึกอินทรชิต  ตอน พรหมาศ

 

          การจัดแสดงโขนพระราชทาน   ชุด ศึกอินทรชิต  ตอน พรหมาศ  ในการจัดแสดงรอบปฐมทัศน์ นี้ มี ผู้บริหารภาครัฐ – ภาคเอกชน / เอกอัครทูต / ผู้นำเหล่าทัพ /ศิลปิน และผู้นำจากองค์กรหลายภาคส่วน ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ร่วมเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ในพระคุณูปการที่ทรงตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมประจำชาติโดยเฉพาะการแสดงโขน ซึ่งเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงมรดกอันล้ำค่าของไทย 

ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ ผู้ช่วยเลขาธิการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และผู้อำนวยการแสดงโขน กล่าวว่า ในปี พ.ศ.๒๕๕๘  สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเลือกโขนชุดศึกอินทรชิต ตอนพรหมาศ กลับมาจัดแสดงใหม่อีกครั้ง หลังจากที่เคยสร้างความประทับใจให้ผู้ชมมาแล้วเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๐ และ พ.ศ.๒๕๕๒ แต่สำหรับการแสดงครั้งนี้ได้มีการปรับปรุงและจัดการแสดงใหม่ แต่ยังคงความงดงาม ความสนุกสนาน ตามแบบฉบับของโขนพระราชทานไว้อย่างครบถ้วน อีกทั้งยังคงจารีตแบบแผนและบทการแสดงตามบทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ เป็นหลัก โดยผสมผสานกับบทคอนเสิร์ตของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ แล้วยังเพิ่มเติมบทฉุยฉายจากบทโขนพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เข้ามาอีกด้วย ซึ่งฉากการแสดงในครั้งนี้มีฉากสำคัญ ๖ ฉาก ได้แก่   ฉากที่ ๑ ขัดตาทัพ (ท้องพระโรงกรุงโรมคัล)  ฉากที่ ๒ พลับพลาพระราม, ฉากที่ ๓ สนามรบ, ฉากที่ ๔ ข่าวศึก(ท้องพระโรงกรุงลงกา), ฉากที่ ๕ เสียพิธี และฉากที่ ๖ ศรพรหมาศ

การจัดแสดงโขนพระราชทาน   ชุด ศึกอินทรชิต  ตอน พรหมาศ

การจัดแสดงโขนพระราชทาน ชุด ศึกอินทรชิต ตอน พรหมาศการจัดแสดงโขนพระราชทาน   ชุด ศึกอินทรชิต  ตอน พรหมาศ  การจัดแสดงโขนพระราชทาน   ชุด ศึกอินทรชิต  ตอน พรหมาศ

การจัดโขนหลวงในครั้งนี้ เป็นการผสมผสานนาฏศิลป์ที่งดงามวิจิตร อาทิ การสร้างฉากท้องพระโรงให้งดงาม เป็นศิลปกรรมไทยที่เชื่อมโยงกับศิลปะจีน อาศัยรูปแบบศิลปกรรมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓  และได้เพิ่มบทฉุยฉายจากบทโขนพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว   ซึ่งกล่าวได้ว่าแม้จะไม่แพร่หลายนัก แต่ทว่ามีความงดงามเป็นอย่างยิ่ง

การแสดงโขนพระราชทาน แต่ละครั้ง มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ  ได้คัดเลือกคนรุ่นใหม่เพื่อให้มีโอกาสร่วมสืบสานวัฒนธรรมของชาติ  โดยได้คัดเลือกนักแสดงตัวเอกรุ่นใหม่ร่วมแสดงด้วย เพื่อให้เยาวชนมีส่วนร่วมสร้างสรรค์ อนุรักษ์ และเผยแพร่นาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยให้คงอยู่สืบไป โดยมีเยาวชนสมัครเข้าคัดเลือกมากถึง ๘๔๕ คน สามารถคัดตัวแสดงเอกคือ พระ นาง ยักษ์ และลิง ได้ทั้งสิ้น ๒๖ คน  นอกจากนี้ยังถือเป็นการรวมตัวของบรรดาศิลปินชั้นครูของเมืองไทย และยังมีเหล่านักแสดง นักร้องนักดนตรี นักออกแบบเครื่องแต่งกาย ช่างทำฉาก ช่างเทคนิค ช่างตัดเย็บ ช่างปัก ช่างทำเครื่องประดับ และบุคคลอื่นๆ ผู้อยู่เบื้องหลังฉากรวมแล้วกว่า ๘๐๐ คน
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถที่ได้ทรงมีพระราชเสาวนีย์ ให้อนุรักษ์โขน ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทย เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้มีส่วนร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมตามแบบประเพณี ที่งดงามเต็มรูปแบบ นับเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย ที่มีส่วนช่วยสืบสานและอนุรักษ์มรดกของชาตินี้เอาไว้ รวมถึงผู้แสดงที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่มีความตั้งใจในการสืบทอดศิลปะการแสดงชั้นสูงสำคัญของชาติ ที่ต้องช่วยกันรักษาไว้ให้มีอยู่สืบไป

 ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ

เรื่องย่อ ชุด ศึกอินทรชิต  ตอน พรหมาศ 

ทศกัณฐ์ เจ้ากรุงลงกา ทรงทราบข่าวสมเด็จพระเจ้าหลาน คือ แสงอาทิตย์และมังกรกัณฐ์ เสียทีแก่ทัพพระราม จึงตรัสให้กาลสูรไปทูลอินทรชิตให้เร่งชุบศรพรหมาศ แล้วยกทัพไปรบกับกองทัพพระลักษมณ์ อินทรชิตแสร้งแปลงกายเป็นองค์อมรินทรา ให้การุณราชแปลงเป็นคชาเอราวัณ แล้วให้โยธาทั้งหลายกลายร่างเป็นเทพบุตรและเทพธิดา ออกไปจับระบำรำฟ้อนกลางเวหา พระลักษมณ์และพลวานรหลงกลคิดว่าองค์อมรินทรา เทพบุตร เทพธิดา มาจับระบำรำฟ้อนด้วยความหรรษา จึงพิศเพลินด้วยความจำเริญตา จนเสียทีให้อินทรชิตแผลงศรพรหมาศต้ององค์พระลักษมณ์ และพลวานรสลบไสลทั้งกองทัพ เว้นเพียงหนุมานไม่ต้องศรศิลป์อินทรชิตจึงขึ้นราญรอนกับอินทรชิต หนุมานตีควาญท้ายคชาอาสัญ แล้วง้างหักคอพญาเอราวัณได้สำเร็จ แต่ก็ต้องคันศรอินทรชิตฟาดสลบอยู่กลางสนามรบ ฝ่ายอินทรชิตและโยธาทั้งหลายก็เลิกทัพกลับพระนครลงกาด้วยความหรรษา

เมื่อความทราบถึงพระรามจึงทรงรีบรุดไปช่วยเหลือ ครั้นเสด็จมาถึงสนามรบ ก็พบหนุมานที่เพิ่งกลับฟื้นคืนสติมาเมื่อต้องพระพายพัดถูกกาย หนุมานทูลความทั้งหมดให้พระรามทรงทราบ เมื่อพระรามตรัสถามวิธีแก้ไขกับพิเภก ภิเภกโหราจารย์จึงกราบทูลว่ามีสรรพยาที่จะแก้ไขให้กลับฟื้นคืนมาได้อยู่ในภูผาชื่ออาวุธ พระรามจึงตรัสสั่งให้หนุมานเดินทางไปเอาสรรพยามาแก้ไข กองทัพพระลักษมณ์จึงกลับฟื้นคืนมา

…………………………………………………………………………….

ขอขอบคุณภาพการแสดงบนเวที จาก โพลิพลัส

 

 

 

 

 

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

RSS Feed

No comments yet.

Leave a comment!

You must be logged in to post a comment.

>>