ได้อ่านเจอเรื่องราวและข้อคิดดีๆ จากขงจื้อ จึงขอเอามาฝากในเทศกาลตรุษจีนนี้ขอส่งความสุข ด้วยการมีสติครับ
วันยุทธหัตถี ตรงกับวันที่ 18 มกราคมของทุกปี โดยให้เป็นวันรัฐพิธีแทนวันที่ ๒๕ มกราคม การเปลี่ยนแปลงวันดังกล่าว อันเนื่องมาจากการนับวันทางจันทรคติยุทธหัตถีเดิมตรงกับ วันจันทร์ เดือน 2 แรม 2 ค่ำ จุลศักราช 954 จากเดิมที่กำหนดไว้ 25 มกราคมนั้นคลาดเคลื่อน จึงได้เปลี่ยนใหม่ให้ตรงกับความเป็นจริง มาเป็น วันที่ 18 มกราคมของทุกปี ให้ถือเป็นวันยุทธหัตถี หรือวันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เมื่อวันก่อน แวะไปตลาดน้ำปากคลองดอนมะโนรา มาครับ อยู่บริเวณหมู่ที่ 5 ตำบลดอนมะโนรา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ที่จริงก็อยู่ไม่ห่างไปจากตลาดนัดท่าคา เท่าใดนัก แต่หลายคนอาจจะยังไม่คุ้นเคย ตลาดจะมีเฉพาะในวันข้างขึ้น ข้างแรม 2 ค่ำ 7 ค่ำ และ 12 ค่ำ สืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณ ตรงกับที่ท่าคาเหมือนกัน แต่ที่นี่มีเช้ากว่ามาก ผมไปถึงแต่เช้า โชคดีเลยได้ทำบุญ ใส่บาตรพระที่มารับบาตรด้วย
เมื่อวันหยุดยาวที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปแวะเยี่ยม ตลาดเก่าแห่งหนึ่ง ที่มีเรื่องราวน่าสนใจมาก เป็นตลาดเก่าดั้งเดิม ตั้งอยู่บริเวณปากคลองลัดพลี ต.ดำเนินสะดวก อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ผมว่า น้อยคนนักที่จะรู้ว่าต้นกำเนิด “ตลาดน้ำดำเนินสะดวก” ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่รู้จักแพร่หลายนั้น มาจาก “ตลาดน้ำดำเนินสะดวกปากคลองลัดพลี” หรือ “เหล่าตั๊กลัก” ตลาดริมน้ำเหล่าตั๊กลัก หรือตลาดน้ำปากคลองลัดพลี เป็นตลาดเก่าแก่ ที่มีอายุยาวนานเกือบ 150 ปี ที่วันนี้ยังคงมีเสน่ห์ที่ผมอยากเชิญชวนให้หาโอกาสมาสัมผัสกันครับ ชุมชนนี้ประกอบด้วย ผู้คนที่ส่วนใหญ่เป็นลูกหลานชาวไทยเชื้อสายจีนแต้จิ๋วและชาวจีนไหหลำ ดำเนินชีวิต ด้วยการเป็นชาวสวน และทำการค้าขายตามลำคลอง และแม้จะอยู่กันคนละฝั่งคลอง ซึ่งเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจ สังคมไทยในอดีต ผมนั่งคุยกับ คุณสมศักดิ์ อภิวันทนกุล. ที่ร้านกาแฟสุดคลาสิค “ฮกหลีคาเฟย” เขา ได้เล่าให้ผมฟังว่า ปกติรับราชการที่กรุงเทพฯ เขาเป็นรุ่นที่ 3 ของที่นี่ อยู่ที่นี่มาเก่าแก่ ตั้งแต่รุ่นของคุณปู่ ซึ่งเป็นชาวจีนที่มาตั้งแต่ยุคขุดคลองดำเนินสะดวก กระทั่งทำกิจการรับซื้อหอม / กระเทียม เป็นโกดังผลผลิตการเกษตร ที่ใหญ่แห่งหนึ่งของที่นี่ ตลาดน้ำเหล่าตั๊กลั๊กหรือตลาดน้ำปากคลองลัดพลี หมายถึงตลาดน้ำเก่า และเป็นตลาดน้ำแห่งแรกๆ [...]
ผมได้ไป ลอยกระทงกาบกล้วยที่อัมพวา ที่เป็นวัฒนธรรมทางลำน้ำ ของเมืองแม่กลองหรือจังหวัดสมุทรสงคราม ได้พบกับความตื่นตาตื่นใจกับประเพณีลอยกระทงสายกาบกล้วยและเป็นการฟื้นฟูประเพณีที่ห่างหายไปกว่า 50 ปี ให้กลับมาอีกครั้ง กระทงสายกาบกล้วย จะเป็นการนำวัสดุจากท้องถิ่นมาใช้เป็นวัสดุในการทำกระทง นำต้นกล้วยที่ตัดเตรียมไว้ หั่นเป็นท่อน ๆ และลอกทีละกาบออก ปักด้วยธูปชุบน้ำมันยาง (ธูปที่ใช้บูชาพระห่อใหญ่ ๆ นำมาจุ่มน้ำมันยาง จากนั้นนำธูปที่จุ่มน้ำมันยางมาผึ่งแดดจนแห้งใช้เวลา 2 – 3 วัน ) ใช้ธูปที่ตากแดดจนแห้งนั้นมาจุดไฟแล้วปักลงกลางกาบกล้วย เราได้นำกระทงกาบกล้วยที่ จุดธูปและปล่อยลอยเป็นสายให้เป็นระยะตามแนวลำน้ำ จากอัมพวา ตามลำน้ำแม่กลอง ที่ไหลลงสู่ปากอ่าวไทย แสงไฟของธูป จะลุกให้ความสว่างไสวอย่างสวยงามอย่างช้า ๆ ตามลำน้ำ ยิ่งปล่อยกระทงกาบกล้วย มากเท่าใด กระทงสายกาบกล้วยจะลอยเป็นแถว เป็นเส้นสายในแม่น้ำ สวยงามตระการตาอย่างหาที่เปรียบมิได้ ถือว่าเป็นภูมิปัญญาไทยในท้องถิ่นที่แฝงซึ่งนัยสำคัญแห่งภูมิปัญญาของความประหยัดเรียบง่าย ไม่ทำลายธรรมชาติ น่าชื่นชมที่จังหวัดสมุทรสงครามได้ฟื้นฟูประเพณีลอยกระทงสายกาบกล้วยนี้ขึ้นมา และหวังว่าจะอยู่คู่ประเทศไทยของเรา ตลอดไปนะครับ