หลุมพราง Image ของ CEO


ทำอย่างไรจะให้ CEO รอดพ้นจากภัยอันตรายของหลุมพรางที่มาจาก Image และกระบวนการสร้าง Image !

การจะสร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กรเพียงลำพังหรือการปล่อยวาง โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับ PR เท่าที่ควรนั้น นำไปสู่การตกอยู่ในหลุมพรางของ Image ได้เช่นกัน เนื่องจากว่า Image มีชีวิต และมีอายุขัยเปรียบได้กับต้นไม้ที่มีการเติบโต ต้องคอยใส่ปุ๋ยดูแล หรือบางครั้งถึงเวลาจริงก็ต้องยอมตัดใจปลูกต้นไม้ต้นใหม่ ซึ่งในต้นไม้แต่ละต้นมิใช่มีเพียงต้นกล้าเพียงต้นเดียวก็จะทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ ดิน น้ำ ฤดูกาล การเอาใจใส่ดูแล ล้วนเป็นสิ่งที่จำเป็น เช่นเดียวกับการบริหารแบบ CEO ที่ต้องอาศัยปัจจัยแวดล้อมที่สำคัญอยู่หลายประการด้วยกัน กล่าวคือ

1.       ตัวเอง เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด และตระหนักถึงได้มากที่สุด เพราะในฐานะ CEO ที่สามารถสะท้อนภาพลักษณ์ให้กับองค์กรได้นั้น จึงทำให้ CEO ต้องดูแลเอาใจใส่กับตัวเองให้มาก พร้อมที่จะพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ มีความสม่ำเสมอ ความตั้งใจจริง ซึ่งจะส่งผลต่อการสร้าง Image อย่าหยุดนิ่งความคิดสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาองค์กรให้มีภาพลักษณ์ที่ดี

สิ่งที่น่ากลัว และเป็นหลุมพราง Image  กลับเป็น CEO เอง ที่หลายคนมีความมั่นใจเกินไป เชื่อว่าความคิดของตนถูกต้องเสมอ ไม่ฟังใคร CEO แบบนี้ เวลาเสนออะไรก็จะไม่มีใครขัดแย้งแต่จะนำไปพูดลับหลัง ไม่มีใครกล้าเตือนเพราะกลัวอันตราย CEO แบบนี้จะอยู่โดยปราศจากความรัก มีแต่ความปรารถนาดีที่จอมปลอม

น่าเสียดายที่หลายคนกล่าวว่า CEO  แบบนี้แตกต่างจากคนก่อน ตอนนี้ยังไม่ดัง ยังไม่มีชื่อเสียง จากการเป็นผู้ใหญ่ที่น่ารักกลับกลายเป็นคนที่ไม่มีใครอยากอยู่ใกล้ เว้นแต่พวกที่ต้องการผลประโยชน์ CEO ที่หลงใหลใน Image ดุจกระจกเงา จนกลับมาเป็นอาวุธทำลายตัวเองแบบนี้มีไม่น้อย จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง ก็ตัวเองได้เป็นผู้ขุดหลุมฝังตัวเองด้วย Image และยศอำนาจอันไม่จีรัง

CEO ที่มีลักษณะนี้คงต้องปรับตัวเอง เพราะ PR คงสามารถสร้างได้เฉพาะภาพลวงตา เพราะในเมื่อข้อเท็จจริงกับภาพที่สร้างขึ้นมีความขัดแย้งกันทั้ง CEO และ PR คงต้องกอดคอกันลงหลุมพรางดังกล่าวแน่

2.       สินค้า/บริการ เป็นสิ่งที่องค์กรควรมีนโยบายที่ชัดเจน ซึ่งเป็นลักษณะที่เห็นเป็นรูปธรรม เมื่อได้ผ่านการกลั่นกรองความคิด และวิธีการนำเสนอองค์กรให้บุคคลภายนอกได้สัมผัส นอกจากนี้ ส่วนที่จะทำให้สินค้า/บริการ สามารถช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กรได้นั้น ควรมีการปรับปรุงระบบการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับ สร้างความโปร่งใส การตรวจสอบคุณภาพของสินค้า/บริการ นั่นคือ มีความเต็มใจที่จะให้สินค้า/บริการที่ดีแก่สาธารณชน

สินค้าหรือบริการ ในบางธุรกิจเป็นภาพลบทั้งทางสังคม และจริยธรรมจนกระทั่งเหมือนตราที่ติดตัว ทั้ง ๆ ที่เป็นอาชีพที่สุจริต แต่ภาพลบในจิตใจของสาธารณชนได้ตั้งค่า และตัดสินไว้แล้ว ธุรกิจที่ล่อแหลมเช่น ด้านที่เกี่ยวกับเพศ ความมั่นคง การทำลายสิ่งแวดล้อม เยาวชน หรือสิ่งเสพติด เป็นต้น ธุรกรรมเหล่านี้เสี่ยงต่อการตกลหลุมพรางของ Image เพราะลุกขึ้นมาทำอะไรก็อาจโดนพาดพิงว่าหาผลประโยชน์หรือไม่จริงใจ

สิ่งที่ CEO ควรดูแลคือ ความสม่ำเสมอของกิจกรรม การทุ่มเทให้กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างจริงจัง การมีจุดยืนที่ชัดเจน ลากรแสดงออกถึงความตั้งใจที่เด่นชัด ดูจะเป็นการเยียวยาได้ดีที่สุด

3.       PR การที่ CEO รู้จักการนำ PR มาใช้ให้เกิดประโยชน์ และเหมาะสมซึ่ง PR ขององค์กรนั้น เป็นผู้ที่สามารถวางกลยุทธ์ วางแผนงานด้าน Image  ให้กับองค์กรได้ มีลักษณะการทำงานแบบมืออาชีพ โดยเฉพาะในองค์กรขนาดใหญ่ ที่จะต้องไม่ทำให้ภาพลักษณ์ที่ดีอยู่แล้ว หมดอายุลง ในขณะที่ทางด้านองค์กรขนาดเล็ก หากมี PR ที่ดีจะช่วยสร้างภาพลักษณ์องค์กรให้เป็นที่รู้จักมาขึ้นได้เช่นกัน

CEO ควรเปิดรับฟัง PR ด้วย เนื่องจากในหลายองค์กรที่เป็นผู้บริหารระดับ CEO ขององค์กร  มักมองข้ามความสำคัญของ PR และใช้ประโยชน์เพียงการประชาสัมพันธ์ ติดต่อสื่อมวลชน ทำงานด้านเอกสารเพื่อเผยแพร่ให้กับองค์กรเพียงเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง PR เป็นผู้ที่รับทราบถึงสภาวะการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิขึ้นทั้งภายนอก และภายในองค์กรได้เป็นอย่างดี เนื่องจากการได้รับข้อมูลเพื่อมาปรับปรุงหรือใช้ประโยชน์ในการเผยแพร่ให้กับองค์กร หรือเพื่อนำไปปรับปรุงการประชาสัมพันธ์องค์กรให้มีภาพลักษณ์ที่ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะการรับรู้ข้อบกพร่องบางประการขององค์กรที่จะสามารถเข้าไปช่วย CEO ให้ปรับเปลี่ยนในบางส่วนที่บกพร่องนั้นได้

PR เก่ง แต่อาจไม่ได้รับการเรียกใช้จาก  CEO  เท่าที่ควร !

4.       รอบตัว CEO  ตั้งแต่ ครอบครัว เลขาฯ  คนขับรถ และบรรดาผู้รายล้อม CEO ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นคนสนิท รสนิยม ความชอบส่วนตัวขอ CEO ด้วย

ครอบครัวที่ดี และบทบาทที่เหมาะสมจะช่วยเสริมให้ Image ของ CEO ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างของภรรยาที่ออกมาจัดการ จุ้นจ้าน หรือมี Image ที่ขัดกับ CEO ลูกของ CEO บางรายที่ก่อเรื่อง และทำให้ Image ของพ่อแม่เสียไปด้วย

ในขณะที่  “เลขานุการของ CEO” ก็เป็นอีกคนหนึ่ง และมักจะเป็นที่ลืมตระหนักถึงความสำคัญว่า เป็นคนที่ใกล้ชิด CEO มากที่สุดและตามติดการทำงารของ CEO ผู้นั้นโดยตลอด เพราะเป็นผุ้นัดหมาย แจ้งราละเอียด ภารกิจตารางเวลาของ CEO ก็สามารถรับงานแทน CEO ได้เช่นกัน ดังนั้น เลขานุการของ CEO จึงควรมีความเข้าใจด้านภาพลักษณ์พอควร หาก CEO ผู้นั้นมีเลขานุการที่เก่ง และมีความคิดที่สร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลาด้วยแล้ว จะยิ่งเป็นการทำให้ทั้งงานและภาพลักษณ์ของ CEO ออกมาดูดีด้วย

นอกจากนี้ คนรอบข้างอื่น ๆ CEO ทั้งที่อยู่ในองค์การหรือภายนอก แม้กระทั่งคนขับรถ และคนใกล้ชิดต่าง ๆ ก็มีส่วนสำคัญที่จำทำให้ CEO  สามารถรักษา Image ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย รสนิยม ความชอบต่าง ๆ สามารถเป็นทั้งส่วนเสริม และส่วนทำลาย Image ได้   CEO จึงไม่ควรปล่อยปละละเลยกับสิ่งที่อยู่รอบตัว โดยเฉพาะบุคคลที่กล้ชินทั้งที่บ้านและที่ทำงาน พึงที่จะต้องระลึกอยู่เสมอว่า ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ความชอบ ความคิด การกระทำ สิ่งที่แสดงออกมาทุกอย่างของ CEO ล้วนแล้วแต่เป็นความสนใจของสาธารณชน การเลือกที่จะดังและโดดเด่นอาจต้องแลกด้วยความเป็นส่วนตัว การให้ความสำคัญกับการเป็นตัวตนของตัวเองจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะสิ่งเหล่านี้ ล้วนสามารถช่วยสร้าง Image ที่ดีได้ด้วยกันทั้งสิ้น

ดังนั้น การจะตกหลุมพรางของ Image จึงไม่ใช่เรื่องยากนักหาก CEO ยังมิได้ใส่ใจความสำคัญกับการเป็นตัวตนของตัวเอง เพราะ Image สามารถช่วยสนับสนุนและก้าวไปพร้อมกับ CEO  และองค์กรได้ตลอดเวลา

ในขณะเดียวกัน Image ก็มิใช่เพียงด้านบวกเท่านั้น สามารถเป็นด้านลบได้เช่นกัน การมีความเชื่อมั่นในตนเองมากเกินไป ไม่ฟังใคร ถึงแม้ว่า CEO ผู้นั้นจะมีความรุ้ ความสามารถที่ดี แต่หากขาดซึ่งการละเลยตัวเอง ละเลยครอบครัว ละเลยคนรอบ ๆ ข้าง ทั้งที่อยู่ในระดับที่สูงกว่า หรือด้อยกว่าแล้วก็ไม่สามารถสร้าง Image ที่เป็นภาพบวกได้เสมอไป

CEO ที่ดีควรรู้จักใส่ใจกับตัวเอง สนใจคนรอบข้าง พร้อมเดินไปข้างหน้าด้วยกันในทิศทางที่ต้องการอย่างเหมาะสมด้วยความระมัดระวัง และรอบคอบมิฉะนั้น จะตกหลุมพรางฝังตัวเอง !

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

RSS Feed

No comments yet.

Leave a comment!

You must be logged in to post a comment.

<<

>>