CEO และ PR จะเดินไปด้วยกันอย่างไร ?

สื่อสารในทิศทางเดียวกัน สร้างเสริมกันอย่างกลมกลืน และแนบเนียน   ในการสื่อสารนี้ หมายรวมถึงการสื่อสารทั้งภายใน และภายนอกองค์กร การสื่อสารไม่ใช่แค่การบอกกล่าวเท่านั้น ยังสามารถสะท้อนบุคลิกภาพขององค์กรได้เป็นอย่างดี ให้ภาพปรากฎออกมาว่าองค์กรนั้น ๆ มีวิสัยทัศน์ มีภารกิจ และเป้าประสงค์ในทิศทางใด รวมถึงการเลือกสื่อหรือ ช่องทางในการสื่อสารที่เหมาะสมกับสถานการณ์ สิ่งแวดล้อม และปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ที่จะทำให้การสื่อสารนั้น ๆ สัมฤทธิ์ผลมากที่สุด

การจะสร้างความตระหนักรู้ และเปลี่ยนมุมมองต่อการประชาสัมพันธ์เสียใหม่สำหรับคนทั่วไป โดยเฉพาะ CEO ที่จะต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติ และมุมมองของตนเองต่อปลายท่อของอค์กมาเป็นการมองตั้งแต่ต้นท่องขององค์กร และมองไปพร้อมกันคือ จูงมือกันเดินไปจนกระทั่งสุดปลายทาง

ทำไมต้องจูงมือกันเดิน ?

CEO มีภารกิจในการบริหารนโยบายในองค์กรร่วมกับผู้บริหารระดับสูงขององค์กรหรือในระดับอื่น ๆ รองลงมา ในขณะที่การประชาสัมพันธ์เป็นการทำงานด้านการสื่อสารองค์กร บอกกล่าว/ชี้แจง เผยแพร่ให้ทราบ ป้องกัน/แก้ไข ความเข้าใจผิดที่มีต่อองค์กร เป็นผู้คอยสร้าง และรักษาภาพลักษณ์ขององค์กร การวางแผน การรับรู้ข้อมูล การสื่อสารด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง การรักษาบรรยากาศแห่งความสัมพันธ์ของทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้อง และการประเมินผล นั่นคือ การทำงานในขั้นตอนต่าง ๆ PR จึงไม่ต่างกับการเป็นทั้งแพทย์ ทหาร วิศวกร ศิลปิน และยามรักษาการในเวลาเดียวกัน

แล้ว CEO ใช้บริการจาก PR ได้ถูกต้องหรือยัง ?

เพระ CEO มักมีทัศนคติ หรือมุมมองงานประชาสัมพันธ์เป็นเพียงฝ่ายที่คอยติดต่อประสานงานกับนักข่าว การจัดเตรียมการแถลงข่าว การถ่ายภาพ การเผยแพร่เอกสารขององค์กร นั่นคือการทำหน้าที่ทางด้านการสื่อสารให้กับองค์กร แต่ CEO กลับมองข้ามภาระงานของงานประชาสัมพันธ์ที่แท้จริง ว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาศักยภาพของอค์กรให้เดินไปด้วยดียิ่งขึ้น เปรียบได้กับการเดินเครื่องเพียงเครื่องจักรใหญ่ ๆ (คณะผู้บริหาร)เท่านั้น แทนที่จะทำให้ขับเคลื่อนไปทั้งโรงงานการผลิต (องค์กร) และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ (สินค้า/บริการ)

นั่นคือ CEO ต้องใช้วิสัยทัศน์ผู้นำ (Visionary Leadership) และกระจายวิสัยทัศน์ไปยังหน่วยงาน และบุคคลต่าง ๆ พร้อมกับการนำประเด็นหลักของการสื่อสารร่วมกับข้อมูลข่าวสารที่มีการปรับเปลี่ยน หรือเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่ง CEO  ควรยอมรับฟังข้อเท็จจริงกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับองค์กร ด้วยการกำหนดแผนภาพลักษณ์ (Image Plan ) ที่ร่วมกันทั้ง CEO PR และหน่วยงานสำคัญที่เกี่ยวข้อง ในด้าน PR เองก็ต้องวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง พร้อมทั้งนำเสนอแนวทางดำเนินงานที่เหมาะสมให้ได้เช่นกัน จึงจะเป็นการทำงานในลักษณะของกรประสานข้อมูลที่มีผลต่อการบริหารขององค์กรได้

“Two heads are better than one”     การทำงานเป็นทีม การไปด้วยกันทั้งทีม การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการยอมรับซึ่งกันและกัน การฟังมากขึ้นจากผู้ปฎิบัติงานในองค์กรที่ระดับต่างกัน การให้ความสำคัญกับทุกส่วนงานของอค์กร ว่ามีความสำคัญด้วยกันทั้งหมดเปรียบได้กับการเดินเครื่องจักรในโรงงาน (องค์กร) หากขาดตัวใดตัวหนึ่งแล้ว แม้ว่าจะเป็นอุปกรณ์เพียงขนาดเล็ก (บุคลากร) ของเครื่องจักก็ตาม ก็อาจสร้างปัญหาให้ผลผลิต (สินค้า/บริการ) ไม่สามารถผลิตออกมาอย่างมีประสิทธิผล และประสิทธิภาพได้

การที่ CEO จำเป็นต้องทำงานสันพันธ์กับ PR อย่างใกล้ชิด เพราะผู้บริหารควรใช้ความสามารถในการสื่อสารมาเป็นกลยุทธ์ในการสร้าง Image ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การให้ความสำคัญกับ PR ในบทบาทของผูบริหารการสื่อสารขององค์กรเป็นสิ่งที่จะขาดเสียมิได้ เพราะผู้ที่เป็นหน้าเป็นตา เป็นสื่อบุคคลที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นผู้แทนให้กับองค์กรคือ CEO แต่ผู้ที่จะทำให้ CEO เป็นที่ยอมรับ รู้จักในวงกว้างคือ PR ที่มีภารกิจในการสนับสนุนทำหน้าที่ทั้งเบื้องหน้า และเบื้องหลัง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับทั้ง CEO ขององค์กร ผู้ร่วมงาน ผู้ถือหุ้น ลูกค้า สาธารณชน และนั่นคือ การสร้างภาพลักษณ์ นั่นเอง

CEO และ PR จึงมิใช่การแยกภารกิจหน้าที่ให้ออกจากกัน เดินไปคนละเส้นทาง แล้วค่อยมาบรรจบที่ปลายทาง แต่เป็นการเดินทางอย่างคู่ขนานพร้อช่วยเหลือกันได้ตลอดระหว่างทาง หากผู้นำต้องการความช่วยเหลือ และเกิดปัญหา PR  จะเป็นผู้ที่สามารถเข้าไปแก้ไขได้อย่างทันท่วงที

CEO ไม่ควรเดินทางโดยปราศจากคู่มือในการเดินทางที่ชื่อว่า PR !

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

RSS Feed

No comments yet.

Leave a comment!

You must be logged in to post a comment.

<<

>>