CEO กับงาน PR
0 Comments | Posted by admin in CEO Tips
CEO กับงาน PR มีกระบวนการทำงานร่วมกันอย่างไร ?
การที่ได้ทำความรู้จักความสัมพันธ์ทั้ง CEO PR & IMAGE ที่สัมพันธ์เชื่อมโยงถึงกันแล้ว สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจร่วมกันต่อไปคือ ในกระบวนการทำงานนั้น มีวิธีการทำงานร่วมกัน และเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรได้
จากกระบวนการบริหารนั้นพบว่า CEO กับงาน PR นั้น อาจจำแนกตตามคุณสมบัติได้หลายแบบ ดังนี้
- 1. CEO เข้าใจงาน PR ดี
ทำให้ PR ทำงานด้วยไม่ยากนักเพราะ CEO เองก็มีความเข้าใจในงานของ PR อยู่แล้ว แต่คงเหนื่อยเพราะผู้บริหารแบบนี้จะมีเป้าหมาย และใช้ PR มาเป็นเครื่องมือทางการบริหาร รู้ว่า PR ต้องการอะไร, จะต้อง PR อย่างไรให้เป็นข่าว, PR อย่างไรเป็นการสร้างความสัมพันธ์กับสาธารณชน สื่อมวลชน ลูกค้า พนักงาน, รู้ว่า ควรพูด คิด เขียน ปฎิบัติอย่างไร ถาทำไม่ได้จะขอความเห็น และให้การสนับสนุนเพื่อให้ PR ทำงานสำเร็จดังนั้น PR จึงต้องวิ่งตาม (ความคิด) นายให้ทัน
- 2. CEO ไม่เข้าใจงาน PR
CEO แบบนี้ PR ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ภาพออกมาดูดี พยายามอธิบายทำความเข้าใจถึงประโยชน์ที่ CEO ขององค์กรจะได้รับถ้า CEO ยอมรับฟังก็ถือว่าโชคดี การทำงานของ PR จะง่ายขึ้นตามมา ยอมรับฟังถึงข้อจำกัดบางประการเช่น การรอสื่อ การที่ต้องเสียเวลาบ้าง การให้เวลากับการสร้างบุคคลิก PR ต้องคอยหมั่นชี้แจง สร้างบรรยากาศ ติดตาม และวัดผลสิ่งที่เกิดขึ้น และมีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา
- 3. CEO ที่ไม่เข้าใจและไม่ชอบงาน PR
เป็น CEO ที่ทำให้ PR ทำงานหนัก และปวดหัวพอประมาณ เพราะจะไม่ค่อยให้ความร่วมมือกับ PR เท่าที่ควร เวลาที่มีปัญหาแทนที่จะร่วมแก้ไข กลับไปซ้ำเติม PR เองก็ต้องคอยแก้ไขสถานการณ์ทั้งกับสื่อ กับพนักงาน แม้แต่ในเหตุการณ์ต่าง ๆ การที่จะได้รับการสนับสนุนใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นอัตรากำลัง งบประมาณ นโยบาย ก็จะยากสักหน่อย เมื่อ CEO ไม่เห็นความสำคัญก็ต้องยากเป็นธรรมดา ยิ่งกว่านั้น อาจมองเห็น PR เป็นเรื่องไร้สาระน่ารำคาญ และทำให้เสียงเวลามากขึ้นไปอีก รวมถึงการเป็นที่รองรับคความล้มเหลวของงานทั้งปวงว่าเกิดจาก PR ก็เป็นไปได้
ในยุคปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ แต่ละแห่งก็มีวิธีการบริหารที่แตกต่างกัน บางแห่งมีหนุ่วยงานประชาสัมพันธ์ขนาดใหญ่ มีหน้าที่ผลิตงาน ผลิตสื่อ ทั้งกระบวนการ (In House) บางแห่งมีขนาดกะทัดรัดเลือกที่จะทำเองบางส่วน บางส่วนใช้การว่าจ้องจากภายนอก (Outsource) ในขณะที่บางแห่งเลือกที่จะใช้การว่าจ้าง PR Agency เป็นผู้ดำเนินงานทั้งกระบวนการให้กับองค์กรเลย
ไม่ว่า CEO จะเป็นแบบใด องค์กรจะมีหน่วยงานประชาสัมพันธ์เป็นลักษณะใดก็ตาม CEO กับ PR จะต้องทำงานไปด้วยกัน เรียนรู้ซึ่งกัน และกันมีเวลาที่จะหารือกำหนดภาพลักษณ์ นโยบาย กลยุทธ์ ตลอดจนวิธีหรือแนวทางปฎบัติร่วมกัน ถ้าสามารถทำแบบนี้ได้ แนวโน้มก็จะสดใส
ที่กล่าวเช่นนั้นเพราะว่า CEO เองก็ต้องยอมรับถึงความชำนาญในวิชาชีพของ PR ไม่ต่างกับวิชาชีพอื่น ๆ ในขณะที่วิศวะกรเป็นผู้ที่ออกแบบ และสร้างอาคาร นักเศรษฐศาสตร์เป็นผู้วิเคราะห์ข้อมูล และคาดการณ์พร้อมทั้งพิจารณาแนวโน้มทางการเงิน PR เองก็เป็นผู้คำนวณสำหรับการก่อสร้างภาพลักษณ์ในทิศทางที่องค์กรต้องการ ภายใต้การอกแบบ (Design) การใช้เครื่องมือ (Tools) ทางการสื่อสารที่เหมาะสม
ความเข้าใจที่ยังคลาดเคลื่อนอยู่มากเกี่ยวกับสถานนะของ PR ในปัจจุบัน ว่าเป็นเพียงผู้ที่คอยที่จะเผยแพร่ข่าวเท่านั้น ในขณะที่ PR ควรเป็นผู้ที่วางแผน และปฎิบัติงานด้านสื่อสารทุกส่วนขององค์กร ดังนั้นในการปฎิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ PR จะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมตังแต่เริ่มแรก นับจากการวางบทบาท (Position) การวิเคราะห์สถานนะของภาพลักษณ์เมื่อเทียบกับคู่แข่ง หรือสถานการณ์นั่นคือ การร่วมวางรากฐานร่วมกันตั้งแต่ต้นท่อ ไม่ใช่การพบกันที่ปลายท่อ เพราะเมื่อถึงจุดนั้นแล้ว ความจัดของช่วงเวลา รายละเอียดของข้อมู และเงื่อนไขต่าง ๆ จะเป็นตัวกำหนดประเด็นเหล่านั้นขาดความสมบูรณ์ สูญเสียโอกาสในการ PR ที่ดี และขาดการวางกลยุทธ์ร่วมกันมาตั้งแต่แรกเริ่ม
CEO กับ PR จึงควรกำหนดยุทธศาสตร์สื่อสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์ด้วยกัน ตกลงและเข้าใจบทบาทกันเสียก่อนตั้งแต่แรก!
Comments
Powered by Facebook Comments
No comments yet.
Leave a comment!
You must be logged in to post a comment.