Talk Show ในโครงการพัฒนาสื่อบุคคล “บทบาทของเรา คืออนาคตองค์กร”
0 Comments | Posted by admin in ความรู้การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์
ผมได้รับเชิญให้ Talk Show ในโครงการพัฒนาสื่อบุคคล “ บทบาทของเรา คืออนาคตองค์กร I am EGAT GURU รู้ … สื่อ … ทำ … นำอนาคต ” ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เพื่อพัฒนาให้บุคลากรขององค์กรเป็นสื่อบุคคลที่สำคัญ ในการสื่อสารข้อมูลและภาพลักษณ์ขององค์กร Talk Show ในประเด็น “ทำอย่างไรให้เป็นสื่อบุคคล..ตัวจริง” พร้อมด้วยผู้บริหารชื่อดัง คุณธนา เธียรอัจฉริยะ Talk Show ในประเด็น “ปรับที่ตัวคุณ..เปลียนเพื่อองค์กร” และ Talk Show ร่วมกัน ในประเด็น “คุณคือภาพสะท้อนขององค์กร” ณ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ (จ.นนทบุรี) และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต โรงไฟฟ้าแม่เมาะ (จ.ลำปาง) โดยได้รับความสนใจจากผู้บริหาร และพนักงาน กฟผ ทั้งสองแห่งเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก
สื่อบุคคล จัดได้ว่าเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพสูงในการสื่อสาร เนื่องจากเป็นการสื่อโดยตรง อาศัยการพูด เช่น การให้สัมภาษณ์ การประชุม การพบปะพูดคุย การสนทนา การสอน การอภิปราย การปาฐกถา ในโอกาส ต่างๆ รวมถึงการสื่อความผ่านสื่อสารมวลชน สื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมที่จัดขึ้น ทำหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ ขององค์กรสู่เป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความน่าเชื่อถือ โน้มน้าวจิตใจ
หลักการสื่อสาร ด้วยสื่อบุคคล ให้มีประสิทธิภาพต่อการสื่อสาร ภาพลักษณ์ องค์กร และให้บรรลุวัตถุประสงค์ ขององค์กร
- หลักการสื่อสารระหว่างบุคคล A – F : A – Accuracy ถูกต้อง แน่นอน ,B – Brief สั้น กระชับ , C – Clearly กระจ่าง ชัดเจน ,D – Direct ตรงกลุ่มเป้าหมาย , E – Easy เข้าใจง่าย , F – Feedback สนใจผลย้อนกลับ
- การสร้างความคุ้นเคย การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่ เป็นกันเอง นั้น ทำให้เกิดการคล้อยตาม ชักจูงได้ง่าย การสื่อสารแบบเผชิญหน้า ทำให้สามารถปรับปรุงเนื้อหา ประเด็น วิธีการ ให้เหมาะสมกับคู่สนทนา หรือสถานการณ์ได้ง่ายกว่า
- การสร้างช่องทางและการยอมรับด้วยเหตุผล ช่องทางการสื่อสารระหว่างบุคคล นับเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ได้รับความสนใจในฐานะผู้ถ่ายทอดข่าวสาร เป็นแหล่งข้อมูลที่มีเสถียรภาพและความน่าไว้วางใจ แต่จะไม่ได้รับความน่าเชื่อถือในแง่เนื้อหาของสารหากไม่มีเหตุผลที่พอเพียง
- การสร้างความน่าเชื่อถือ ผู้รับสารส่วนใหญ่มักจะเชื่อถือ ความคิดเห็นของผู้ที่รู้จัก คุ้นเคยและนับถือมากกว่าบุคคลที่ไม่รู้จักมาก่อน การสื่อความระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กับบุคคลภายนอก หรือการที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลที่รับฟังได้ มีที่มาที่ไปชัดเจน
- การบริหารความขัดแย้งและสื่อสารในวิกฤติ การสนทนาของผู้รับสารที่มีความเชื่อขัดแย้ง หรือมีทัศนคติต่อต้านที่รุนแรง หรือแก้ไขได้ทันท่วงทีกรณีเกิดวิกฤตที่คาดไม่ถึง ต้องมีการเตรียมตัวหรือมีข้อมูล ทางเลือกที่ดีพอ ต้องเข้าใจเจตนารมย์ / วัตถุประสงค์ / เป้าหมายขององค์กร ผู้สื่อสารต้องเข้าใจเจตนารมย์ขององค์กร และมีทักษะและระดับของการตัดสินใจในระดับหนึ่ง
- การประเมินและเตรียมรับการสื่อสาร ต้องมีการประเมินผลกระทบรอบด้าน และมีแนวทางการรองรับ การใช้คำพูดอย่างเดียว โดยไม่มีข้อมูลหรือการเตรียมการที่ดี อาจไม่เพียงพอ ต้องอาศัยการฝึกฝนมีความเชี่ยวชาญในการสื่อสารที่ดีและต้องหาข้อมูล สื่อสารให้เหมาะสมกับสถานการณ์ จะทำให้ผู้รับสารมีความเข้าใจกระจ่างชัด ตัดสินใจรับสารได้อย่างมั่นใจ ให้บรรลุเป้าหมาย สอดคล้องกับทิศทางขององค์กร
จะเห็นได้ว่า หัวใจสำคัญของการใช้สื่อบุคคล ที่อาจเป็นผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารหน่วยงาน ตัวแทนที่มอบหมายและตั้งขึ้นมาเพื่อรับผิดชอบในการสื่อความต่างๆ หรือพนักงานทุกคน ได้การติดต่อสื่อความ ซึ่งเกิดเป็นความสัมพันธ์และส่งต่อความเข้าใจอันดี ที่ใช้การติดต่อสื่อสารเป็นเครื่องมือสำหรับนำข้อมูลหรือเนื้อหาสาระ จากองค์กรไปยังกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ และเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร กับกลุ่ม หรือบุคคล ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ความร่วมมือ และสนับสนุนองค์กร นั่นเอง
ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ
Comments
Powered by Facebook Comments
No comments yet.
Leave a comment!
You must be logged in to post a comment.
<< เสวนา “PR ไทยก้าวไกลสู่อาเซียน” ภาควิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา